ชื่อสามัญ Pink Trumpet, Pink Tecoma, Rosy Trumpet-tree
ชื่ออื่น ๆ ชมพูอินเดีย, ตาเบบูยา, ธรรมบูชา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia rosea (Bertol.) DC.
วงศ์ Bignoniaceae
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้ต้น
ขนาด [Size] : สูง 15-25 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีชมพูอ่อน ชมพูสด ขาว
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Tiem] : ก.พ.-เม.ย.
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : โตเร็ว
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ผลัดใบ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้นๆ ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ คล้ายรูปแตร มีหลายสี คือ สีขาว ชมพูอ่อน หรือชมพูกลางดอกสีเหลือง ดอกมักบานพร้อมๆกันและร่วงง่าย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผล เป็นฝัก เมื่อแก่จะแตกออก ขนาดฝัก (ยาว x กว้าง x หนา) 32.53 x 1.24 x 0.99 ซม. เมล็ด มีลักษณะแบน สีน้ำตาล มีปีกเป็นเยื่อบางทั้ง 2 ด้านของเมล็ด ขนาดเมล็ด (ยาว x กว้าง x หนา) 0.73 x 1.34 x 0.99 ซม.
ลักษณะทางชีวะภาพ
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : โตเร็ว
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แดดเต็มทั้งวัน
ใบ (Foliage) : ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อย 5 ใบ ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม
ดอก (Flower) : สีชมพูอ่อน ชมพูสดและขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอก-
ย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มักบาน พร้อมกัน ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีปีก
การกระจายพันธุ์มีถิ่นกำเนิดทางใต้ของเม็กซิโกไปถึงโคลัมเบียและเวเนซุเอลา ตั้งชื่อตาม ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ผู้นำเข้ามาเมื่อปีพ.ศ. 2500
การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
ประโยชน์
ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได
ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได
ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร
S: การศึกษาต้นชมพูพันทิพย์เป็นส่วนหนึ่งของวืชาชีววิทยาซึ่งอยู่ในกลุ่มวิทยาศาสตร์
T: การใช้บล็อกนำเสนอข้อมูล
E: การสร้างบล็อก
M: ความยาวของลำต้น
T: การใช้บล็อกนำเสนอข้อมูล
E: การสร้างบล็อก
M: ความยาวของลำต้น
น.ส ปวันรัตน์ ยังเดช ม.5/5 เลขที่ 24
น.ส ธัญธิตา อ่อนวิมล ม.5/5 เลขที่ 37